Yahoo Clever wird am 4. Mai 2021 (Eastern Time, Zeitzone US-Ostküste) eingestellt. Ab dem 20. April 2021 (Eastern Time) ist die Website von Yahoo Clever nur noch im reinen Lesemodus verfügbar. Andere Yahoo Produkte oder Dienste oder Ihr Yahoo Account sind von diesen Änderungen nicht betroffen. Auf dieser Hilfeseite finden Sie weitere Informationen zur Einstellung von Yahoo Clever und dazu, wie Sie Ihre Daten herunterladen.

ที่ว่าผู้ซื้อคอนโดเป็นเจ้าของร่วมในกรรมสิท���ิ์ถือครองที่ดินนี้ จะแบ่งกันอย่างไรเมื่อเกิดเหตูการณ์เช่นตึกถล่ม?

สมมุติว่าคอนโดถล่มลงมาจากการใช้งานเป็นเวลานาน 50-60 ปี หรือจากภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ถ้าเป็นบ้านเรายังเหลือที่ดิน แต่เมื่อเป็นคอนโด เรามีสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างไรครับ เช่น แบ่งขายที่ดินอันน้อยนิดได้หรือไม่ หรือนำที่ดินอันน้อยนั้นไปยื่นกู้เงินจากธนาคาร หรือใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันใดๆ ได้หรือไม่ครับ

1 Antwort

Bewertung
  • ?
    Lv 7
    vor 1 Jahrzehnt
    Beste Antwort

    การกำหนดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง จะคำนวณจากอัตราส่วนของราคาห้องชุด แต่ละห้องกับราคารวมของห้องชุดทั้งหมด ถ้าคุณครอบครองห้องที่แพงหน่อย สัดส่วนการถือครองทรัพย์สินส่วนกลางก็จะมากขึ้นตามลำดับค่ะ

    ตามกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้ดูแลบริหารทรัพย์ส่วนกลาง แต่ต้องอยู่ภายใต้ความเห็นชอบของเจ้าของห้องชุด หากผู้ที่อยู่อาศัยในห้องชุดนั้นๆเห็นว่านิติบุคคลบริหารอาคารชุดไม่โปร่งใส ก็มีสิทธิเรียกประชุมเจ้าของห้องชุด เพื่อให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ แต่หากผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ชี้แจงหรือปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง จนทำให้เกิดความเสียหาย เจ้าของห้องชุดสามารถนำเรื่องเสนอที่ประชุมเจ้าของร่วมทั้งหมด เพื่อมีมติถอดถอนผู้จัดการได้

    เรามีสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างไร

    ***การทำนิติกรรมใดๆต้องเป็นก���รลงมติคะแนนเสียงที่เกินครึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด และสิทธิในการลงคะแนนเสียงจะนับจากอัตราส่วนที่เจ้าของห้องชุดแต่ละรายมี กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งการกำหนดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางนี้คำนวณจากอัตราส่วนของราคาห้องชุด แต่ละห้องกับราคารวมของห้องชุดทั้งหมด ที่ผ่านมาอาจพบว่าเมื่อนิติบุคคลบริหารอาคารอย่างไม่โปร่งใส ผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมโครงการนั้นๆกลับไม่สามารถเอาความผิดกับผู้ จัดการนิติบุคคลได้ สาเหตุก็เพราะการออกเสียงลงความเห็นของผู้อยู่อาศัยมีจำนวนน้อยกว่าคะแนน เสียงของเจ้าของโครงการซึ่งถือครองพื้นที่ส่วนที่เหลือขายทั้งหมดอยู่ เนื่องจากโดยปรกติแล้วในช่วงแรกของการจดทะเบียนอาคารชุดซึ่งเป็นช่วงเริ่ม ต้นของการโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกค้าทางเจ้าของโครงการจะเป็นผู้บริหารนิติบุคคล อาคารชุด เพราะกฎหมายระบุให้มีว่าก่อนที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ผู้ซื้อ ต้องมีการจดทะเบียนอาคารชุดเสียก่อน

    สรุปว่า ต้องซาวเสียงตามที่กำหนด ถ้าผ่านก็ต้องทำตามที่เห็นสมควรกัน นำที่ดินไปทำอย่างที่ต้องการได้ อยู่ที่ว่าทุกคนเห็นชอบหรือเปล่า และไม่มีการสมยอมหรือฟ้องศาลขัดแย้งกัน จะขายที่ดินส่วนกลางเสียแล้วเอาเงินมาแบ่งกันก็ได้ ถ้าจะนำไปค้ำก็ต้องร่วมกันค่ะ

Haben Sie noch Fragen? Jetzt beantworten lassen.