Yahoo Clever wird am 4. Mai 2021 (Eastern Time, Zeitzone US-Ostküste) eingestellt. Ab dem 20. April 2021 (Eastern Time) ist die Website von Yahoo Clever nur noch im reinen Lesemodus verfügbar. Andere Yahoo Produkte oder Dienste oder Ihr Yahoo Account sind von diesen Änderungen nicht betroffen. Auf dieser Hilfeseite finden Sie weitere Informationen zur Einstellung von Yahoo Clever und dazu, wie Sie Ihre Daten herunterladen.

คุณคิดว่าการมีอีโก้ในตัว ดีหรือเสียมากว่ากัน

โดยส่วนตัวยอมรับเป็นคนที่มีอีโก้สูงมากคนหนึ่ง แต่ผมรู้สึกว่ามันเหมือนหลักในชีวิต คล้ายจะเป็นอุดมการณ์ในการใช้ชีวิต ที่เราต้องยึดเกาะกับมันไว้ (โดยไม่ทำให้คนอื่นเสียหาย) ให้ดี มันเหมือนสมมุติฐานในชีวิตครับ แล้วเราเดินทางค้นหาตามสมมุติฐานนั้นครับ ไม่รู้คนอื่นคิดกันอย่างไร

7 Antworten

Bewertung
  • vor 1 Jahrzehnt
    Beste Antwort

    ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) บิดาของกลุ่มทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และเป็นผู้ตั้งทฤษฎีที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ เรียกว่า “ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับบุคลิกภาพ” ( psychoanalytic theory of presonality ) ได้บัญญัติศัพท์เฉพาะขึ้นมาเพื่ออธิบายโครงสร้างบุคลิกภาพว่า ประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นระบบ 3 อย่าง คือ อิด ( id ) อีโก ( ego ) และซุปเปอร์อีโก ( superego ) ระบบทั้ง 3 อย่างนี้จะรวมกันเข้าเป็นโครงสร้างของบุคลิกภาพ

    1. อิด ( Id หรือ libido ) หมายถึง แรงขับทางร่ายกายที่กำกับบุคคลให้กระทำการต่าง ๆ ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นตัวกระตุ้นที่ค่อนข้างรุนแรง อันเกิดจากภาวะของจิตไร้สำนึกเปรียบได้กับกิเลส ตัณหา หรือโลภ ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง อิดจึงเป็นแรงกระตุ้นดิ้นรนขวนขวายที่จะประพฤติปฏิบัติ ไปตามหลักที่เรียกว่า “หลักแห่งความพอใจ” ( pleasure principle ) นั่นคือ เพื่อหลีกเลี่ยงความเครียด ( avoid tension ) และแสวงหาความพึงใจในทันที เพื่อว่าความรู้สึกและอารมณ์ที่จะได้รับเป็นไปในทางบวก

    2. อีโก ( Ego ) หมายถึง จิตที่รู้สำนึก ที่ก่อตัวและพัฒนาขึ้นมาเมื่อเด็กเจริญเติบโต เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ และความรู้สึกนึกคิด จากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่สั่งสม จึงทำให้อีโกได้รับการพัฒนาจนทำให้บุคคลมีความสามารถ ในการคิดที่อยู่ในวิสัยแห่งความเป็นจริง ( realistic thinking ) รวมทั้ง มีความสามารถเผชิญกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรกระทำ จึงทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นนักบริหารหรือเป็นผู้จัดการของอิด ( a manager for the id ) โดยอีโกจะเป็นผู้เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการตามสัญชาตญาณให้เกิดความพอใจ โดยยึดถือความเป็นจริงมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เนื่องจากจิตได้กำหนดความต้องการขึ้นมากจนเกินไป อีโกจึงจัดลำดับความสำคัญให้อยู่ในวิสัยที่สามาร��จัดการได้ โดยยึดถือความสำคัญของความต้องการแต่ละอย่างเป็นหลัก รวมทั้งคอยขัดขวางยับยั้งควบคุมให้อิดแสดงออกที่เหมาะสม (

    3. ซุปเปอร์อีโก ( Superego ) หมายถึง องค์ประกอบส่วนที่สามของบุคลิกภาพเป็นส่วนของจิตที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของศีลธรรมจรรยา และระเบียบประเพณีของสังคม หรือเป็นมโนธรรมที่อยู่ในจิตของแต่ละบุคคล อันเกิดจากการเลี้ยงดูอบรมของครอบครัวและสังคม สามารถแยกออกได้ว่าอะไรคือ ความถูกต้องและเป็นสิ่งดีงาม อะไรควรหรือไม่กระทำ จึงทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมทั้งอิดและอีโก เพื่อให้อีโกประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในทำนองคลองธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ปฏิบัติตามที่จิตเรียกร้องทุกอย่าง

    ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า การปฏิบัติการของอีโกของคุณ จึงเป็นการปฏิบัติตามหลักที่เรียกว่า “ หลักแห่งความเป็นจริง ” ( Reality principle ) นั่นคือ ความสามารถที่จะเลื่อนเวลาปลดปล่อยความเครียดออกไปได้ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม

  • อีโก้ในความหมายทางดีคือการมั่นใจตนเองมีอุดมการณ์ที่มุ่งมั่นในการทำสิ่งใดๆในชีวิตให้สำเร็จ

    อีโก้ในทางไม่ดีก็คือการเอาแต่ใจตนเองขาดมนุษยสัมพันธ์หวังแค่เป้าหมายสำเร็จไม่สนใจว่าจะต้องข้ามหัวหรือทำร้ายผู้อื่นใด

    ขอแต่สำเร็จสมกับเป้าหมายที่ตั้งใจไว้เป็นพอ

    โดยส่วนตัวคิดว่าดีนะคะ..ทำให้เราทำสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้สำเร็จ

    แต่ต้องมีจริยธรรม คุณธรรม และเป็นคนดีด้วยค่ะ อีโก้นั้นถึงจะดี

  • vor 1 Jahrzehnt

    อาจจะไม่เรียกอีโก้ค่ะ คุณมีความภูมิใจในตัวเองมาก และยึดมั่นความสุขในความภูมิใจนั้น เพราะมันอาจจะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุขในโลกใบนี้ แต่การสรรหาต้องทำเรื่อยๆ ต้องเพิ่มเรื่อยๆ ระวังอยู่อย่างนะ ถ้ามีบุคคลที่เหนือกว่าคุณจะรับไม่ได้ และเมื่อมีวันนั้น ซึ่งต้องมีแน่ๆคุณจะสูญเสียอย่างสูง เพราะฉะนั้นอยากให้ปล่อยวางบ้างและไว้ใจผู้อื่นบ้าง เร่มเสียแต่ตอนนี้นะคะ

  • vor 1 Jahrzehnt

    ก็ขอยอมรับเหมือนกันค่ะ ว่าเราก็เป็นคนนึงที่มีอีโก้อยู่ในตัว

    โดยส่วนตัวก็ใช่ค่ะ เราเป็นเป็นคนเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน

    แต่อีกด้านหนึ่ง เราก็มี"มาด"ของเราด้วยเช่นกัน

    คนเรานะคะ เรื่องอ่อนน้อมถ่อมตนมันก็ดีค่ะ

    แต่หากมีเยอะเกินไป มันก็กลายเป็นเหมือนคนที่หงอ กลัวชาวบ้านเค้าเกินไปด้วย (ทั้งๆที่จริงๆอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้)

    แต่สภาพที่คนภายนอกเค้าเห็นมันก็สร้างความรู้สึกนั้นได้เหมือนกัน

    ดังนั้น เราคิดว่า คนเราควรมีอีโก้ไว้ในตัวเองบ้าง

    แต่การแสดงออกนั้น ควรอยู่ในขอบเขตที่เรียกว่า "กำลังดี"

    ไม่ได้เป็นการทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายใคร

    สร้างแล้วมีแต่ยกระดับตัวเองในสายตาคนอื่น อะไรแบบนี้จะดีที่สุดค่ะ : )

  • Wie finden Sie die Antworten? Melden Sie sich an, um über die Antwort abzustimmen.
  • Anonym
    vor 1 Jahrzehnt

    ถ้าคิดว่ามันเป็นหลักà��€à¸à¸“ฑ์ที่ดีสำหรับตัวคุณ

    คุณก็ทำไปเถอะค่ะ แต่ควรให้มันอยู่ในระดับ

    ของความพอดี ไม่เดือดร้อนคุณ ไม่เดือดร้อนใคร

    ทำแล้วสบายใจ ชีวิตราบรื่นเป็นสุขย่อมดีที่สุดค่ะ

    แต่เมื่อไหร่ที่ความมีอีโก้ของคุณอาจทำให้คนอื่นเกิดอาการ

    ไม่พอใจข้างในลึกๆ แล้วล่ะก็...คำว่าอีโก้ของคุณนั่นแหละ

    ที่จะกลับมาทำร้ายตัวคุณเองค่ะ...

  • ความภูมิใจในตนเอง

    เป็นภาวะปกติ

    ของคนปกติ

    ระดับที่ปลอดภัย

    เรียกว่าเป็นตัวของตัวเอง

    มากกว่านั้นเรียกว่าหลุดโลก

    ความไม่ภูมิใจในตนเอง

    เป็นภาวะของคนปกติ

    ที่ผิดปกติ

    ระดับที่ปลอดภัย

    เรียกว่าสำนึก

    ถ้ายิ่งกว่านั้น

    เรียกว่าคลุ้มคลั่ง

    อะไรก็ตามที่ยังต้องเกี่ยวโยงกับสิ่งอื่นๆอยู่

    อะไรที่ว่าเหล่านั้นมันมีจุดที่พอดี

    ซึ่งต้องคอยปรับคอยจูนให้มันอยู่ตรงนั้นเสมอ

    และมันก็จะกลายเป็นสิ่งที่"ดีมากกว่าเสà��µà¸¢"

    Quelle(n): *ขอความสุขและความหวังดีจงยั่งยืนในทุกดวงใจ*
  • Anonym
    vor 1 Jahrzehnt

    ถ้ามันอยู่ในกรอบตามสิทธิและหน้าที่ของคุณ ก็คงไว้เถอะค่ะ ไม่มีอะไรเสียหาย เว้นแต่ถ้ามันมากเกินไป อาจทำให้คุณเป็นคนที่ทุกข์มากกว่าสุข ก็คงต้องปล่อยวางบ้าง ในโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบหรอกค่ะ มันเป็นไปไม่ได้ เว้นแต่เรื่องเป็นไปไม่ได้เท่านั้น จริงๆ

Haben Sie noch Fragen? Jetzt beantworten lassen.