Yahoo Clever wird am 4. Mai 2021 (Eastern Time, Zeitzone US-Ostküste) eingestellt. Ab dem 20. April 2021 (Eastern Time) ist die Website von Yahoo Clever nur noch im reinen Lesemodus verfügbar. Andere Yahoo Produkte oder Dienste oder Ihr Yahoo Account sind von diesen Änderungen nicht betroffen. Auf dieser Hilfeseite finden Sie weitere Informationen zur Einstellung von Yahoo Clever und dazu, wie Sie Ihre Daten herunterladen.

หลักการของประชาธิปไตยระหว่างประเทศ (รัฐต่อรัฐ) ?

เป็นคำถามที่ถามยากครับ ถ้าอ่านคำถามแล้วงง บอกได้นะครับ

ผมสงสัยเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตยของมวลหมู่ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ครับ ในลักษณะของรัฐต่อรัฐนะครับ ... คือเรามีองค์การสหประชาชาติ เป็นองค์กรกลางที่คอยดูแลความสัมพันธ์ การติดต่อกันระหว่างประเทศต่างๆ บนโลกใบนี้ (ถ้าผมเข้าใจถูกต้อง)

แต่เราก็จะมีประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย เช่น สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, จีน, ญี่ปุ่น ฯลฯ ... ซึ่งประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย ก็จะต้องปกป้องผลประโยชน์ของประเทศตัวเองเป็นหลัก โดยมีหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติเป็นคนคอยควบคุม เพื่อไม่ให้เกิดการรังแกกัน

ทีนี้ยกตัวอย่างการที่สหรัฐอเมริกายกพลบุกอิรัก ผมไม่แน่ใจว่าสหรัฐอเมริกาใช้ยุทธวิธีอะไร ถึงทำให้องค์การสหประชาชาติหรือประเทศอื่นๆ เงียบ (หรือไม่กล้าหือ) ในการที่สหรัฐอเมริกาจะยกกำลังทหารไปยึดประเทศอื่นๆ อย่างหน้าตาเฉย

Update:

ผมสงสัยว่าทำไมประเทศที่ได้ชื่อว่ามีประชาธิปไตย มีเสรีภาพอย่างมาก อย่างสหรัฐอเมริกา ถึงสามารถใช้ double standard ในการยึดอำนาจประเทศอื่น (ทีเรายึดอำนาจในประเทศกันเอง อเมริกางดช่วยเหลือนั่นช่วยเหลือนี่ ไม่ชอบซะเหลือเกิน) และสงสัยว่าประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ที่เป็นประเทศยักษ์ใหญ่ ถึงไม่ขัดขวางครับ

Update 2:

ถามเพิ่มเติมครับ

ยังงี้ ถ้าวันดีคืนดีเรายกพลไปบุกพม่า โดยให้เหตุผลว่าพม่าไม่เป็นประชาธิปไตยบ้างล่ะ ปล่อยคนกลุ่มน้อยมาทำให้เราเดือดร้อนบ้างล่ะ แล้วจัดการตัดสินประเทศคนอื่น โดยตัวเราเอง (แบบอเมริกาทำกับอัฟกานิสถานและอิรัก) ... เราสามารถจะทำได้ไหม?

แล้วถ้าทุกประเทศคิดแบบนี้หมด โลกมันไม่วุ่นเหรอครับ อย่างกรณีอิรัก ถ้าสหประชาชาติลงมติให้ ก็ไปอย่าง แต่ที่เท่าที่ทราบก็เหมือนสหรัฐอเมริกาก็ตัดสินใจบุกด้วยตัวเอง แล้วยังงี้เราจะเอาอะไรมาเป็นหลั���ในการอยู่ร่วมกันในโลกใบนี้ครับ

3 Antworten

Bewertung
  • vor 1 Jahrzehnt
    Beste Antwort

    ตั้งแต่ผมตามฟังข่าวมา ยังไม่เคยได้ยินว่าสมาชิกของ UN ทำการโหวตกันเลยนะครับ แต่มีการถกเถียงกันบ่อยครั้งจริง อาจจะมีการโหวตแต่ผมดันไม่รู้เองก็ได้ ไม่แน่ใจเหมือนกัน สรุปแล้วจากที่ฟังข่าว ผมว่าเขาอาศัยการถกเถียงหาข้อสรุปมากกว่าจะโหวตกันนะครับ แต่ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้

    เชื่อว่าอเมริกาหาช่องว่างของกฎและอาศัยข้ออ้างต่าง ๆ ครับ อย่างเช่นเวลาจะไปบุกที่ไหน เขาก็ต้องหาข้ออ้างต่าง ๆ ก่อน เช่นเรื่อง 911 และความสงบในประเทศก็เป็นข้ออ้างหนึ่ง ความสงบในอิรักก็ข้ออ้างหนึ่ง ซัดดัมก็ข้ออ้างหนึ่ง บินลาเดนก็ข้ออ้างหนึ่ง ซึ่งข้ออ้างชุดเดียวกันนี้ก็ทำให้เขาสามารถเกณฑ์พรรคพวกจากประเทศอื่น ๆ ให้ช่วยเข้ารบได้อีกด้วย ล่าสุดนี้เขาเตรียมข้ออ้างต่าง ๆ ไว้สำหรับอิหร่านด้วย เช่น มีหลักฐานว่าอิหร่าน supply อาวุธและเทรนทหารไปรบในอิรัก เป็นงั้นไป คอยดูละกันครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นรึเปล่า แต่ผมเชื่อว่ามี covert mission เกิดขึ้นแล้วในอิหร่าน

    ผมว่าโดยรวมแล้วโลกเราก็ยังคงเป็นแบบ only the strongest will survive แหละครับ เพียงแต่ยุคหลังนี้มีบรรยากาศของความสงบสุขมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน(ยุคล่าอาณานิคม) อย่างน้อยคนก็ใส่ใจกันเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องการขยายดินแดนตัวเอง แต่ประเทศไหนที่มีทรัพยากรเยอะ และไม่ทำตัวให้ดูดีกับต่างประเทศ ก็อาจโดนเล่นงานได้ มันอาจดูไม่ดี แต่มันคือความเป็นจริง พม่าทำตั��เป็นคนเกเร แต่ไม่มีทรัพยากรที่น่าสนใจ ก็เลยไม่มีใครทำอะไรมั้งครับ

    สรุปคือแต่ละประเทศที่มีทรัพยากรก็ต้องระวังตัวเองโดยการผูกมิตรกับชาติอื่นเข้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นพวกหัวอกเดียวกันอย่าง Opec หรือจะเป็นพันธมิตรอย่างจีน หรือรัสเซีย

  • vor 1 Jahrzehnt

    ผมคิดว่าคำตอบจะต้องแบ่งออกเป็นสองมิติ

    1. ปรัชญาทางการเมือง กับบทบาทของสหประชาชาติ ในเชิงอุดมคติ

    2. นโยบายการต่างประเทศของทุกๆ ประเทศ กับความจริงที่เราประสบอยู่

    เรามีองค์กรโลกบาล (ขอใช้ศัพท์อาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธ์หน่อยนะครับ) ที่มีหน้าที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างภราดรภาพระหว่างประเทศในสังคมโลก ซึ่งเป็นความตั้ังใจที่ดีที่เราจะมีองค์กรแบบนี้เกิดขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ องค์กรโลกบาลก็จะมีอำนาจในการเจรจาจำกัด เพราะสหประชาชาติก็คือองค์กรหนึ่งที่มีหน้าที่เฉพาะ ในขณะที่ประเทศต่างๆ นั้นมีสถานะเป็น "รัฐชาติ" ซึ่งรัฐชาติท่ามกลางกระแสทุนนิยม ก็มีลักษณะคล้าย Business unit ที่ต้องโปรโมทประเทศตัวเองให้เกิดการลงทุน ต้องสร้างเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ

    ดังนั้นการดำเนินงานในเชิงอุดมคติที่ดีของสหประชาชาติกับการทำงานของรัฐชาติย่อมมีความขัดแย้งอยู่ในที แต่สิ่งที่น่าชื่นใจก็คือการที่เรายังคงมีสหประชาชาติไว้ตรงกลาง เพราะโลกนี้ไม่ใช่โลกที่จะหมุนไปด้วยแรงทุนนิยมแต่ถ่ายเดียว หากเป็นโลกของมนุษย์ ที่มีความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ ไม่ใช่สัตว์ที่กระหายสงคราม

    ดังนั้นคำถามที่ถามว่าทำไมประเทศมหาอำนาจมียุทธวิธีอะไร ทำไมประเทศอื่นถึงไม่กล้าหือ ผมว่าไม่เกี่ยวกับสหประชาชาติครับ แต่เป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติตนเอง ซึ่งแม้แต่ประเทศไทย เราจะต่อรองเจรจากับใครเราก็คิดประเทศเราเองเป็นหลักก่อนครับ

  • vor 1 Jahrzehnt

    ดูแลประเทศไทย ให้ดีก่อนดีมั๊ยกับพวกที่มักจะอ้างประชาธิปไตย

    ก่อความวุ่นวาย เดือดร้อนรำคาญให้เกิดขึ้น รังแกคนเดินทาง

    โจมตีบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่ไม่เห็นด้วย โดยไม่

    เกรงใคร อ้างเหตุผลสารพัด โดยไม่มีหน่วยงานใดออกมาแก้ไข

    ควบคุม ปกป้อง ดำเนินการอย่างชัดเจน พวกเขาก็ทราบดีว่า

    ปัจจุบันการจราจรในกรุงเทพ แออัด ยัดเยียด ติดมหาวินาศอยู่แล้ว

    ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องเดินทางอ้อม หลีกเลี่ยง สูญเสียเวลา ค่าน้ำมัน

    เสียอารมณ์ ความรู้สึกขนาดไหน ใครจะรับผิดชอบ

Haben Sie noch Fragen? Jetzt beantworten lassen.