Yahoo Clever wird am 4. Mai 2021 (Eastern Time, Zeitzone US-Ostküste) eingestellt. Ab dem 20. April 2021 (Eastern Time) ist die Website von Yahoo Clever nur noch im reinen Lesemodus verfügbar. Andere Yahoo Produkte oder Dienste oder Ihr Yahoo Account sind von diesen Änderungen nicht betroffen. Auf dieser Hilfeseite finden Sie weitere Informationen zur Einstellung von Yahoo Clever und dazu, wie Sie Ihre Daten herunterladen.

ในความคิดเห็นของคุณ...เมืองไทยเหมาะสมหรือยังสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์?

เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานในเมืองไทย ว่าเราพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการที่จะเริ่มต้นมีโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากนิวเคลียร์ โดยความคิดเห็นหลักๆ น่าจะแบ่งแยกออกเป็นสองกลุ่ม

1. กลุ่มที่เห็นด้วยและคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยควรจะเริ่มต้นในการพัฒนาและสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์

2. กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย และคิดเมืองไทยยังไม่พร้อม และไม่เหมาะสมสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ไม่ทราบว่าเหล่าสมาชิกในรู้รอบ มีความคิดเห็นกับเรื่องนี้หรือไม่ อย่างไรครับ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพราะอะไร?

15 Antworten

Bewertung
  • Anonym
    vor 1 Jahrzehnt
    Beste Antwort

    ดูแนวโน้มทั่วโลกที่หยุดสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่กันไปหมดแล้ว ยกเว้นจีน ก็คงต้องตอบว่าเมืองไทยนั้นคิดช้าไปมากแล้ว และควรจะตามแนวโน้มให้ทัน เพราะทั่วโลกมุ่งไปที่พลังลม และแสงอาทิตย์กันหมดแล้ว มีโรงงานเร่งผลิตกังหันลมและเซลแสงอาทิตย์เกิดขึ้นจำนวนมากแล้ว ทำไมไม่มาเมืองไทย เพราะเราคิดผิดหรือเปล่า

  • vor 1 Jahrzehnt

    คงหนีไม่พ้นที่จะต้องสร้างสักวันหนึ่งในอนาคต

    แต่เราควรหาคำตอบในด้านต่างๆให้ได้เสียก่อน

    1)ขยะปรมาณู จะกำจัดอย่างไร-ยุโรปมีเหมืองเกลือเก่าๆที่ไม่ใฃ้แวซึ่งแห้ง เย็น และอยู่ลึกใต้ผืนดินสองถึงสี่กิโลเมตร

    ถังบรรจุกากฯจะผุกร่อนช้ากว่าแหล่งเก็บที่ชื้นร้อน

    และต้องขุดลงลึกถึง2-4กิโลเมตร

    2)เรื่องความ"เป็นทาส"ทางวัตถุดิบ ที่จะต้องหาแร่ยูเรเนียมมาป้อน ถ้าทะเลาะกับผู้ส่งแร่ เราจะมีไฟฟ้าใช้จากไหน? หรือเราไม่มีวันทะเลาะกับคนผิวขาวแน่นอน เพราะเขาเป็นคนน่านิยมและไม่รังแกคนเอเซีย เดราพร้อมหรนือยังที่จะซื้อยูเรเนียมมาแปรรูปเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า?

    3)เรื่องความ"เป็นทาส"ทางเทคโนโลยี่ ที่เราจะต้องพึ่งบุคลากรทางการควบคุมซึ่งอาจจะมาจากต่างประเทศ(อ่านข้อสอง)

    4)เรื่องสภาพแวดล้อม เพราะบริเวณที่ตั้งโรงไฟฟ้าฯ

    จะต้องมีการระบายความเย็นด้วยน้ำ(ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแม่น้ำ)

    น้ำที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะต้องระบายไหลลงแม่น้ำ และเป็นน้ำที่ -"มี"-กัมมันตภาพรังสีปนเปื้อน

    ปลาจะได้รับรังสีนั้นด้วย เราจะกินปลานั้นไหม?

    ..เราจะกินผักที่รดน้ำจากแม่น้ำนี้ไหม?

    จากการวิจัยเมื่อปลายปี 2007 พบว่า..เด็กในบริเวณใกล้โรงไฟฟ้าฯเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นในอัตราสูงหลายเปอร์เซ็นต์(ไม่มีเวลาค้นว่ากี่% -แต่คนที่สนใจเรื่องนี้ย่อมได้รับฟังหรืออ่านข่าวนี้

    -ยกเว้นบางประเทศที่ยกข่าวเรื่องโดเรม่อนเป็นทูตทางวัฒนธรรมของยี่ปุ่นเป็นข่าวสำคัญ-)

    .

  • vor 1 Jahrzehnt

    การสร้างโรงไฟฟ้านั้นสิ่งแรกต้องถามว่า

    1.ความต้องการกับการผลิตในปัจจุบันรองรับเพียงพอหรือไม่และแนวโน้มอัตราการ

    เพิ่มความต้องการมีอัตราเท่าใดเพราะเรายังไม่เคยกำหนดอนาคตตัวเองเลยว่าจะเป็น

    อุตสากรรมหรือบริการหรือเกษตรกรรมทำให้มองความต้องการไม่ได้

    2.หากรู้ความต้องการบริโภคไฟฟ้าและอัตราการเจริญเติบโตจริงมีความถูกต้องเท่าใด

    ข้อมูลมีเพียงพอหรือไม่

    3.ต้องรู้กำลังการผลิตเดิมที่ใช้ถ่านหิน,พลังน้ำ,พลังงานจากน้ำมัน,กาซ,พลังงานทดแทน

    จากขยะ,สิ่งปฏิกูล,แกซซีวภาพ,เท่าใดและต้นทุนความแตกต่างยังมีข้อมูลที่ขัดแย้งอยู่

    4.แน่นอนความเข้าใจเรื่องนิวเคลียร์ที่ต้องฝังตั้งแต่เยาวชนและทุกวัยให้เข้าใจก่อนจะ

    ประชาพิจารณ์

    5.ความรู้,แนวคิดและจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมเพียงใด

    6.ทุนจะหาจากไหนเป็นหนี้สาธารณะเท่าใด

    7.ผลกระทบมากน้อยเพียงใดเพราะส่วนใหญ่จะบอกเพียงน้อยมากแต่ข้อเท็จจริงนั้นนอกจาก

    พื้นที่,การเป็นอยู่ของประชาชน,ผลสืบเนื่องที่อาจเกิด(อาจจะ)นั้นมีค่าเพียงใด

    จริงอยู่หลายท่านได้บอกว่าต้องเริ่มคิดเริ่มงานและใช้เวลาถึง15ปีจึงจะแล้วเสร็จผมว่ารัฐบาลà¹��ม่

    เคยมองผ่าน4ปีเลยเป็นปัญหามาตลอด

    สรุปข้อคิดเห็นจากข้อมูลยังคิดว่าหากเราได้พิจรณาความต้องการที่แท้จริงของการใช้ไฟฟ้าในประเทศ

    และรู้จักการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ,ร่วมมือกันในการลดความสูญเสียหรือ(loss)

    ออกจากระบบละก้อเราอาจใช้การผลิตแบบท้องถิ่นที่สามารถดูแลกันเองทั้งความต้องการการผลิต

    การบำรุงรักษาเราอย่ามองให้ใหญ่เกินตัวแลยหากเรารู้จักการสร้างสมรรถนะแก่คนทั้งความรู้,ความคิด

    และจิตสำนึกแล้ว,มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนระยะยาว,กำหนดโครงสร้างและระบบอย่างโปร่งใสมีกระบวน

    การที่สร้างคุณภาพ,ประสิทธิภาพแล้วน่าจะสามารถยุติการใช้พลังงานอย่าสุรุ่ยสุร่ายได้มากครับ

  • noin@
    Lv 4
    vor 1 Jahrzehnt

    จะตอบว่าพร้อมหรือไม่นั้น ก็ให้ถามตัวเราดีกว่า ว่าเรารู้จักโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดีพอหรือยัง

    การที่เรากลัว เกิดจากวามไม่รู้ แต่ถามว่า ความรู้ที่ยังไม่มี สามารถหà��²à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¹€à¸•à¸´à¸¡à¹„ด้ไหม ... ประเด็นที่ 1

    ประเด็นที่ 2. ก็ถามว่า ... จำเป็นไหม ที่เราควรจะมี ลอง ชั่ง ตวง วัดดูสิ ว่าปัจจุบันเรา จำเป็นต้องเติมส่วนที่ขาดหรือไม่ ..... "GAP Analysis"

    ประเด็นที่ 3. ระบบความปลอดภัย ที่เราได้ยิน ได้ฟังมา ถามว่าเรารู้รอบคลุมและสามารถจัดการได้ทุกครั้งไหม

    และ ประเด็นที่ 4. ที่สำคัญ "ทรัพยากรมนุษย์" เรามีพร้อมหรือยัง ...

    ถ้าทุกอย่างพร้อม ... คน เงิน ของ ..(พูดด้วยคำสั้นๆ ถ้าอาจารย์รู้ เป็นเรื่องแน่ ว่าท่านไม่ได้สอนแบบนี้ แต่ชอบพูดแบบนี้)

    แค่ 4 ข้อ ซึ่งยังน้อยเกินไป นักวิชาการหรือผู้รู้อีกมากท่านคงตอบได้

    แต่ถ้าถามตัวเอง ก็จะตอบว่า ถ้าเราไม่เสี่ยง เราจะได้รู้ได้ยังไงว่า เราได้ทำแล้ว

    "You can if you Think you can

    If you Think you are bitten, You are

    Success Begin with your Own will"

    แต่นี่เป็นเรื่องของชาติ ไม่ใช่เราคนเดียว ก็ต้องขึ้นกับคนทั้งชาติ เป็นสำคัญ ....!!

  • Wie finden Sie die Antworten? Melden Sie sich an, um über die Antwort abzustimmen.
  • ตามความคิดเห็นของคนความรู้น้อยนะคะประเทศไทยยังไม่เหมาะที่จะมีโรงไฟฟ้าพลังงานจากนิวเคลียร์

    สาเหตุเพราะประเทศเรายังเป็นประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศกำลังพัฒนาสภาพแวดล้อมของประเทศยังสมบูรณ์ยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่มากยังไม่มีความพร้อมสำหรับการรองรับมลภาวะที่เป็นพิษที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของประเทศไทย

    แค่ปัญหามลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศยังแก้ไขกันไม่ได้ แล้วยังคิดจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกเฮ้อ เหนื่อยใจ

    อย่าลืมว่าประเทศที่เขาคิดสร้างพลังงานนิวเคลียร์นั้นเขาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเขาเป็นประเทศอุตสาหกรรมไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรมอย่างเรา

  • vor 1 Jahrzehnt

    ไทยควรมี แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลา เพราะต้องมีการเตรียมงานก่อนคือ

    1. ให้ความรู้เกี่ยวกับนิวเคลียร์ให้กับประชาชน โดยเฉพาะต้องวางพื้นฐานที่นักเรียนก่อน จัดเนื้อหาอยู่ในหลักสูตรเลย จะได้เตรียมความพร้อม

    2. เตรียมคน

    - คนที่จะทำงานในโรงงงาน ต้องมีความรู้ความชำนาญเทียบเท่าต่างประเทศ

    - คนที่ดูแล (นักการเมือง ข้าราชการ) ต้องมืออาชีพ ตงฉิน มีคุณธรรม

    3. จัดประชาพิจารณ์เมื่อเห็นว่าทุกอย่างพร้อม

    4. ดำเนินการด้วยความรอบคอบ มีคุณธรรม ไม่มุ่งผลประโยชน์ส่วนตน

  • vor 1 Jahrzehnt

    เหมาะสมสำหรับเตรียมการ ในการสำรองพลังงานไฟฟ้าในอนาคต

    รองรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมเมืองที่มีความจำเป็น

    แน่นอน เพราะเมื่อถึงวันนั้นจะบังเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

    ซึ่งอาจจะสายเกินแก้ แต่ก็จะต้อง มีระบบป้องกันมลพิษ และระบบ

    เตือนภัย สำหรับประชาชนในย่านนั้นๆ อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

    และที่สำคัญ อย่าลืมทำประชาพิจารณ์ เพื่อสอบถามความคิดเห็น

    จากชุมชนนั้น ๆ ด้วย

  • สร้างที่ไหน?

    ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมของคนในชุมชนหรือเปล่า

    แย่งเเหล่งน้ำพื้นที่การประมง ที่ที่ชาวบ้านเขาคุ้นเคยอาศัยทำมาหากินเลี้ยงชีพของเขาหรือไม่

    แย่งป่าไม้ที่ที่ชาวบ้านในชุมชนเขาอาศัยพืชผักหาของป่าในการยั่งชีพหรือไม่

    ใครคือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด?

    นักการเมือง นายทุน หรือ ประชาชน

    สิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้า หรือ อนาคตโรงไฟฟ้านิวเคลีร์ย รัฐบาลควรชี้แจงให้ประชาชนรับทราบว่ามีผลดีผลเสียผลกระทบอย่างไรบ้าง และคนในชุมชนดั้งเดิมจะต้องเปลี่ยนเเปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เขาเคยได้รับอากาศดีๆอยู่กันอย่างมีความสุขเคยถามความคิดเห็นของพวกเขาบ้างไหม สุดท้ายใครได้ประโยชน์ก็ไม่พ้นนักการเมือง นายทุน สิ่งที่ประชาชนได้รับคือโรคภัยไข้เจ็บสุขภาพที่ย่ำแย่ และความเสี่ยงในสิ่งที่คาดไม่ถึง ไม่ใช่พุงใหญ่เข็มขัดคาดไม่ถึงนะฮะ หมายถึงอุบัติเหตุ น่ะฮ่า { : )

  • vor 1 Jahrzehnt

    ขอเสริมควมรู้รอบตัวเรื่องอุบัติภัยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เคยเกิดปัญหาขึ้นในโลกจากสอบสวนดังนี้

    1)โรงไฟฟ้าที่เกาะ ทรีไมล์ สหรัฐอเมริกา เกิดจากการ ความหละหลวมในช่วงการซ่อมบำรุงตามปกติ ในขั้นตอนที่จะใช้ลมอัดเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์เพื่อไล่ทำความสะอาด แต่เนื่องจากขณะทำความสะอาดวันนั้นมีน้ำเข้าไปในระบบท่อทางเข้าเครื่อง ทำให้เซนเซอร์ตรวจเช็คระบบ สั่งปิดวาล์วระบบภายใน ทำให้เกิดความดัน แต่ก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า ระบบ ความร้อนอาจจะขึ้นสูงผิดปกติ จึงเปิดน้ำเข้าไปในระบบอีก กว่าจะรู้ปัญหาที่แท้จริง ก็เกือบจะเกิดการระเบิด ในทีสุดก็แก้ปัญหาวิกฤติได้ทันท่วงที ปัจจุบันหนึ่งในสองเครื่องที่เสียได้หยุดเดินเครื่องและยังคงอยู่เป็นอนุสรณ์ เตื่อนความทรงจำ

    2) โรงไฟฟ้า เชอร์เนอร์บิล อดีตสหภาพโซเวียต เกิดจากการทดลอง ดึงพลังงานความร้อนที่ยังมีอยู่ในช่วงที่สั่งหยุดเครื่องปฏิกรณ์มาใช้ทำงานปั่นไฟ ซึ่งในช่วงดังกล่าวจะมีความร้อนหลงเหลืออยู่ แต่ตามหลักการเมื่อพลังงานความร้อนต่ำลง เครื่องประมวลผลจะตรวจสอบและเร่งปฏิยานิวเคลียร์เพื่อเพิ่มพลังงาน ให้ชดเชยความร้อน เข้าว่าในช่วงปิดเครื่องได้ทดลอง ระบบแมนนวลเพื่อทดสอบการนำพลังงานมาใช้ แต่คงไม่ประสบผลสำเร็จ จึงสั่งเครื่องกลับไปที่ระบบอัตโนมัติ ปรากฏว่า เครื่องหยุดการตอบสนองและควบคุมไม่ ในที่สุดก็เกิดปัญหานำไปสู่การระเบิด

    ที่นำมาเล่าสู้กันฟังก็ยังไม่มีความคิดเห็นใด แต่เคยได้ยินว่า คนไทยเราเรื่องระเบียบวินัย ยังไม่ดีพอ ก็เลยคิดว่าแล้วคนไทยเราจะมีการพัฒนาระเบียบมีวินัยที่ดีขึ้น เพื่อรองรับความรับผิดชอบร่วมกันในการใช้เทคโนโลยี่แห่งอนาคต.....แบบนิวเคลียร์.....ได้หรือยัง

  • vor 1 Jahrzehnt

    เห็นด้วยว่าควรจะมีพลังงานทดแทน ไม่ว่าพลังงานนิวเคลียร์หรือพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ต้องศึกษาระบบที่เหมาะสมกับประเทศของเรา และควรปรับลดการใช้พลังงานแบบพอเพียง เช่น ส่งเสริมการใช้จักรยานสำหรับบางพื้นที่ การใช้พลังงานที่มาจากผลผลิตทางการเกษตร ใช้แก๊สมูลสัตว์ พลังงานชีวภาพต่างๆ สร้างบ้านแบบประหยัดพลังงาน ลดการใช้เครื่องปรับอากาศโดยไม่จำเป็น เป็นต้น

Haben Sie noch Fragen? Jetzt beantworten lassen.